ปฏิทิน 2555

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน

ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน

        นอกเหนือจากอาหาร ดนตรี ประเพณีวัฒนธรรม แล้ว ดอกไม้ประจำชาติก็สามารถ
บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติและอ้างอิงถึงภูมิศาสตร์ของถิ่นฐานที่อยู่ของประเทศนั้นๆ 
ได้อีกด้วยการทำความรู้จักดอกไม้ประจำชาติของอาเซียนทำให้เราได้รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียนดียิ่งขึ้น 

                      

       ราชพฤกษ์ ดอกไม้ประจำชาติ ไทย มีสีเหลืองสด ในหนึ่งดอกประกอบด้วย
กลีบดอก 5 กลีบ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดี
ในที่โล่งแจ้ง ส่วนประกอบต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นยารักษาโรคได้


                      

            มะลิงาช้าง ดอกไม้ประจำชาติ ฟิลิปปินส์ มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก ปลายกลีบเรียว ออกดอกตลอดปี มีกลิ่นหอมอ่อนตลอดวัน ช่วงที่อากาศเย็นหรือมีแสงแดดอ่อน ส่งกลิ่นหอมมากกว่าช่วงที่อากาศร้อน

                      

            แวนด้า ดอกไม้ประจำชาติ สิงคโปร์ หนึ่งในพืชตระกูลกล้วยไม้ที่มีลำต้นแท้พบได้
นต้นไม้สูง บางชนิดอาจมีใบรีคล้ายรูปไข่ ทั้งยังสามารถปรับตัวได้ดีในที่แล้ง จะออกดอกให้
ชมทุก  2-3 เดือน


                     

             ซิมปอร์ ดอกไม้ประจำชาติ บรูไน มีกลีบดอกใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอก
จะบานคล้ายร่ม มักอวดโฉมในงานศิลปะพื้นเมืองประจำชาติ และปรากฏอยู่บนธนบัตรของชาติด้วย


                    

             ชบาแดง ดอกไม้ประจำชาติ มาเลเซีย มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน อินเดีย แล้วถูก
นำเข้ามาใน มาเลเซีย ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นดอกไม้มงคล หากปลูกไว้ในบ้านจะช่วยส่งเสริมเกียรติยศ
และความสง่างามแก่ผู้อยู่อาศัย ชนพื้นเมืองบนเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกก็ยังนิยมดอกชบา
มาเป็นเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย



                    

             กล้วยไม้ราตรี ดอกไม้ประจำชาติ อินโดนีเซีย มีกลิ่นอายของยามค่ำคืนแฝงอยู่ 
ฟังดูมีเสน่ห์ในแบบลึกลับ เป็นกล้วยไม้ในสายพันธุ์ พบได้ทั่วไปในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สามารถเติบโตได้ในเขตแห้งแล้ง หรือหนาวเย็นตามฤดูกาล


                    

              จำปาลาว ดอกไม้ประจำชาติ ลาว มักปรากฏให้เห็นในพิธีกรรม
ทางศาสนาพุทธ  เช่น การใส่บาตร แต่ชาวไทยรู้จักกันดีในชื่อลีลาวดี หรือลั่นทม


                   

             ลำดวน ดอกไม้ประจำชาติ กัมพูชา มีกลีบดอก 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นชั้น 
ปลายกลีบแหลม   โคนกลีบดอกกว้าง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง กล่นหอมเย็น ชาวไทย
ได้นำรูปทรงมาทำเป็นขนมเรียกว่า กลีบลำดวน


                 

             ดอกบัว ดอกไม้ประจำชาติ เวียดนาม เป็นพืชมงคลตามความเชื่อทาง
พระพุทธศาสนา ที่ว่า บัวซึ่งโผล่พ้นน้ำเปรียบเหมือนการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงรวมถึง
ความบริสุทธิ์ และความผูกพัน ดั่งสายใยของบัวนั่นเอง

                      

              ประดู่ เป็นดอกไม้แห่งเทศกาลสงกรานต์ประจำชาติ พม่า ช่อดอกประดู่สีเหลืองสดช่วยเติมสีสัน  ให้กับชีวิตในช่วงต้นฤดูร้อน ในประเทศไทยดอกประดู่ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ของกองทัพเรือ สัญลักษณ์ของจังหวัดระยอง และสถานศึกษาอีกหลายแห่ง
             
              ดอกไม้ประจำชาติอาเซียนหลายชนิดส่วนใหญ่จะเป็นดอกไม้ที่มีอยู่ในประเทศไทยเนื่องจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประเทศอาเซียนด้วย
                

แหล่งที่มา : http://carebest.blogspot.com/2012/03/blog-post_8427.html . ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน.

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


กวีซีไรต์ของไทย



รางวัลซีไรต์ (อังกฤษS.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (อังกฤษSoutheast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนใน 10 ประเทศรัฐสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน
โดยงานเขียนที่ได้รับรางวัลเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง และมีงานเขียนหลากหลายรูปแบบที่ได้รับรางวัล อย่างเช่น กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย ละครเวที คติชนวิทยา รวมไปถึงงานเขียนด้านสารคดีและงานเขียนทางด้านศาสนา พิธีจะถูกจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเป็นประธานในพิธี
นับตั้งแต่มีการก่อตั้งรางวัลซีไรต์ขึ้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงประกอบด้วยรัฐสมาชิกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2527 บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าร่วมหลังสุดในปี พ.ศ. 2542

วัตถุประสงค์มีดังนี้ คือ
  • เพื่อให้เป็นที่รู้จักถึงความสามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน
  • เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่งกลุ่มประเทศอาเซียน
  • เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริมและจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะ ทางวรรณกรรมของนักเขียนผู้สร้างสรรค์
  • เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไปในกลุ่มประเทศอาเซียน
กฎเกณฑ์การเลือกสรรงานวรรณกรรม มีดังนี้ คือ
  • เป็นงานเขียนภาษาไทย
  • เป็นงานริเริ่มของผู้เขียนเอง มิใช่งานแปลหรือแปลงจากของผู้อื่น
  • ผู้เขียนยังมีชีวิตอยู่ขณะส่งงานเข้าประกวด
  • เป็นงานตีพิมพ์เผยแพร่ (มี ISBN) เป็นเล่มครั้งแรกย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี ภายในวันสิ้นกำหนดส่งงาน
  • งานวรรณกรรมที่เคยได้รับรางวัลอื่นใดในประเทศไทยมาแล้วจะส่งเข้าพิจารณาอีกก็ได้

    รางวัลซีไรต์(นวนิยาย)

    ลูกอีสาน : คำพูน บุญทวี

                         

          
         ลูกอีสานเป็นนวนิยายที่ได้รับรางวัลนวนิยายดีเด่นของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ แห่งชาติในปี พ.ศ.2519 และรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งเอเซีย (ซีไรต์) ในปี พ.ศ.2522 มีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนต์และแปลเป็นภาษาต่างประเทศ 3 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น        ผู้เขียนได้ตีแผ่ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสานได้อย่างชัดเจนและเจาะลึก ซึ่งทำให้ผู้อ่านได้รู้    ถึงความเป็นจริงของชาวอีสานว่ามีความลำบากยากแค้น เพียงใด การปรับตัวให้อยู่กับธรรมชาติ  ที่แร้นแค้นนั้น เป็นสิ่งเดียวที่ช่วยให้พวกเขามีชีวิตอยู่ได้ แถมท้ายเล่มมีสูตรอาหารรสแซบชวนน้ำลายสอ เช่น แกงอ่อม ต้มส้มงูสิง ลาบนกขุ้ม และภาพสัตว์ต่างๆที่กล่าวถึงในเรื่องอีกด้วย


    คำพิพากษา : ชาติ กอบจิตติ

                      ไฟล์:Kumpipaksa chad book.jpg 

    คำพิพากษา นวนิยาย ของ ชาติ กอบจิตติ ที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ รางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2525 จัดพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2525 โดย สำนักพิมพ์ต้นหมาก มีความหนา 320 หน้า
    นอกจากนี้นวนิยายเรื่อง คำพิพากษาที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ รางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2525แล้ว ยังได้รับรางวัลเมขลาจากดารานำฝ่ายหญิงในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 1 (ครั้งแรก) ในบทละครโทรทัศน์ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งประพันธ์โดย ชาติ กอบจิตติ

    ปูนปิดทอง : กฤษณา อโศกสิน

                       


    ปูนปิดทองเป็นหนังสือนวนิยายของ กฤษณา อโศกสิน ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี พ.ศ. 2528 มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับปัญหาของครอบครัวในสังคมไทยส่วนใหญ่
    ตัวละครเอกในเรื่องได้แก่ สองเมือง และ บาลี ทั้งคู่เกิดมาในครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้าง เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ บาลีศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก และชักจูงให้สองเมืองลืมความข่มขื่นใจที่เคยเกิดขึ้น ทำสองเมืองรักบาลี และมั่นใจว่าชีวิตคู่ของเขาและเธอจะไม่เป็นอย่างพ่อกับแม่ และจะเป็นพ่อแม่ที่เป็นตัวอย่างที่ดี ไม่ใช่เป็นเพียงรูปหล่อปูนที่ปิดด้วยทอง ซึ่งไม่มีค่าอะไร

    ตลิ่่งสูง ซุงหนัก : นิคม รายยวา            


                   

         ผู้เขียนต้องการจะเน้นให้เห็นว่าคนส่วนมากชอบติดอยู่กับซากมากกว่าสิ่งมีชีวิต และทุกคนมีการเกิดและตายอย่างละหนึ่งครั้งเท่านั้น แต่สิ่งที่อยู่ระหว่างสิ่งนั้นเราต้องหาเอง ชีวิต คือ การรับส่วนแบ่งที่ต้องเฉลี่ยกันไม่ว่า ความทุกข์ ความสุข ความดี ความเลว แต่ละคนมักจะแย่งกัน รับความดีไว้มากกว่า ส่วนด้านไม่ดีไม่อยากยอมรับกัน

    เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน :

     มาลา คำจันทร์

                                     

         เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2461 เจ้าจันท์เป็นเจ้าหญิงล้านนาคนงาม เธอเดินทางไปบูชาพระธาตุอินทร์แขวน ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดที่อยู่ในเขตพม่าใกล้เมืองเชียงใหม่ ด้วยความตั้งใจว่าจะตัดผมหอมบูชาพระธาตุ ตำนานเล่าว่าผู้ใดที่ปูผมลอดพระธาตุได้ จะสมหวังในสิ่งใดก็ตามที่ตั้งใจไว้ และสำหรับเจ้าจันท์แล้ว เธอกำลังต้องการให้ความหวังที่มีอยู่เป็นจริงอย่างเหลือเกิน 

    เวลา : ชาติ กอบจิตติ

                                             

            เวลา นวนิยายแนวใหม่ของ ชาติ กอบจิตติ เขียนเสร็จเมื่อวันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2536 มีความยาวทั้งหมด 232 หน้า เนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวของผู้กำกับภาพยนตร์คนหนึ่งที่สูญเสียภรรยาและลูกสาวไปให้กับการทำงานของตนเอง ที่เข้าไปดูละครเวทีของนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่กำลังลาโรง แรงจูงใจของเขาที่ทำให้ไปดูละครเวทีเรื่องนี้ก็เพราะได้อ่านคำวิจารณ์มาก่อนว่า เป็นละครเวทีที่น่าเบื่อที่สุดในรอบปีและเป็นละครเวทีที่เกี่ยวกับคนแก่ในบ้านพักคนชรา ทั้ง ๆ ที่กลุ่มผู้สร้างเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบด้วยซ้ำ 

    ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน : วินทร์ เลี้ยววารินทร์

                                         
       
      ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน เป็นหนังสือของ วินทร์ เลียววาริณ วางจำหน่ายใน พ.ศ. 2537 และได้รางวัลซีไรต์ใน พ.ศ. 2540[1] ฉบับภาษาอังกฤษให้ชื่อว่า (Democracy, Shaken & Stirred) วางจำหน่าย พ.ศ. 2546 เป็นนิยายเชิงการเมืองไทย โดยดำเนินเรื่องตามการปฏิวัติในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬใน พ.ศ. 2535 ตัวละครหลักในเรื่องเป็นตัวละครสมมติ แต่มีการใช้บุคคลในประวัติศาสตร์มากมาย วินทร์ได้ใช้ลักษณะการเขียนแบบเดียวกันนี้ในนิยายอีกเรื่องของเขา คือ ปีกแดง (พ.ศ. 2545) เพียงแต่เป็นเรื่องของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 


    อมตะ : วิมล ไทรนิ่มนวล


                                        อมตะเทลีส.jpg 

          “อมตะ” เป็นนวนิยายแนวส่งเสริมพุทธศาสนา โดย วิมล ไทรนิ่มนวล โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มนุษย์เห็นสัจจธรรมในชีวิต และพบความสงบสุข ซึ่งได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรท์) ประจำปี 2543 ได้รับคำยกย่องจากคณะกรรมการตัดสินรางวัลนี้ตอนหนึ่งว่า "เป็นนวนิยายแห่งจินตนาการถึงโลกอนาคตเกี่ยวกับการแสวงหาความเป็นอมตะของชีวิตโดยใช้รูปแบบวิวาทะระหว่างแนวคิดบริโภคนิยม กับแนวคิดทางศาสนาของโลกตะวันออก"

    ช่างสำราญ :  เดือนวาด พิมวนา
                                      


    นวนิยายเรื่องนี้มีทั้งความสนุก เรื่องตลก (ที่อาจจะหัวเราะไม่ออก) ภาพความสะเทือนใจ อย่างไรก็ตาม อาจารย์ยุรฉัตรกล่าวว่า แม้เนื้อหามีลักษณะไม่เครียดทั้งเรื่อง แต่ก็แฝงความสะเทือนอารมณ์เอาไว้ในขณะเดียวกัน ซึ่งทำให้มีความน่าสนใจ
    ในเรื่องนี้ผู้เล่าเรื่องอยู่ในลักษณะผู้สังเกตการณ์ ทำให้สามารถมองเห็นอารมณ์เศร้าของเด็ก และการผ่อนคลายอารมณ์เศร้าสะเทือนใจของเด็กชายนั้น
    วิธีการนำเสนอเรื่อง ผู้เขียนนำเสนอโดยใช้โลกทัศน์แบบมองโลกในแง่ดี และสื่อถึงการช่วยเหลือกันในสังคมจริงๆ ที่ไม่ใช่สังคมอุดมคติ อาทิ ชาวบ้านที่มาช่วยมีลักษณะเกี่ยงว่า วันนี้ฉันช่วยแล้ว พรุ่งนี้ตาเธอช่วยบ้าง ในนวนิยายเรื่องนี้ กล่าวถึงปัญหายาเสพติดที่ไม่รุนแรง แต่แฝงแนวคิดว่า สังคมนี้ต้องพึ่งพาอาศัยกัน จึงจะอยู่ร่วมกันได้

    ความสุขของกะทิ : งามพรรณ เวชชาชีวะ


                            ไฟล์:7597799 250.jpeg 

    ความสุขของกะทิ เป็นนวนิยายขนาดสั้น ของ งามพรรณ เวชชาชีวะ ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2549[1]และได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2552 ในชื่อเดียวกันคือ ความสุขของกะทิ หนังสือภาคต่อของ ความสุขของกะทิ ชื่อว่า ความสุขของกะทิ ตอน ตามหาพระจันทร์ และ ความสุขของกะทิ ตอน ในโลกใบเล็ก 

    เสน่ห์ของนวนิยายขนาดสั้นเรื่องนี้อยู่ที่กลวิธีการเล่าเรื่อง ที่ค่อยๆ เผยปมปัญหาทีละน้อย ๆ อารมณ์สะเทือนใจจะค่อยๆ พัฒนาและดิ่งลึกในห้วงนึกคิดของผู้อ่าน นำพาให้ผู้อ่านอิ่มเอมกับรสแห่งความโศกอันเกษม ที่ได้สัมผัสประสบการณ์ทางอารมณ์ของชีวิตเล็กๆ ในโลกเล็กๆ ของเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งอาจไม่ไกลจากชีวิตจริงของเราเลย